"Deductible VS Copayment"
สาวเก่ง ค่ายกรุงเทพประกันชีวิต หรือ BLA เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กร สู่สนามประกันชีวิต เดินหน้าให้ความรู้ Deductible VS Copayment เรื่องควรรู้ ก่อนทำประกันสุขภาพออนไลน์
อรนาฎ นชะพงษ์ ผู้บริหารสายกลยุทธ์การตลาดและบริหารจัดการลูกค้า บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เล่าว่า Deductible VS Copayment เรื่องควรรู้ ก่อนทำประกันสุขภาพออนไลน์ ในวันที่เงื่อนไขการต่ออายุ Copayment กำลังจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป สำหรับผู้ที่สนใจการทำประกันสุขภาพ อาจต้องทำความเข้าใจ 2 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบ 2 แบบที่มีผลต่อการเคลมประกันของผู้เอาประกันภัย ซึ่งอาจมีความคล้ายกันในความต่าง คือ ความรับผิดชอบส่วนแรก (Deductible) และ เงื่อนไขการต่ออายุแบบ Copayment และหากใครมีความกังวล กรุงเทพประกันชีวิต มีแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุมก่อน Copayment มีผลบังคับโดยสามารถสมัครทางออนไลน์ง่ายๆ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
ประกันสุขภาพแบบ Deductible VS Copayment ต่างกันอย่างไร? ก่อนที่จะมีการนำเรื่อง Copayment มาใช้กับประกันสุขภาพนั้น ธุรกิจประกันชีวิตได้มีการพัฒนาแบบประกันสุขภาพที่ผู้ถือกรมธรรม์ต้องมีส่วนร่วมในค่าใช้จ่ายสุขภาพที่เกิดขึ้นด้วย นั่นคือ แบบประกันสุขภาพแบบ Deductible หรือที่เรียกกันว่า ประกันสุขภาพแบบรับผิด(ชอบ)ส่วนแรก
1. ประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดส่วนแรก (Deductible) แบบประกันแบบ Deductible มีลักษณะที่ผู้ถือกรมธรรม์จะเป็นผู้รับผิดชอบเงินค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนแรกก่อนบริษัทประกันทุกครั้งที่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ความรับผิดชอบส่วนแรกเป็นไปตามข้อตกลงที่ผู้ถือกรมธรรม์เป็นผู้เลือกและกำหนดไว้ในกรมธรรม์ตั้งแต่แรก เช่น เลือกรับผิดชอบส่วนแรก 30,000 บาท เป็นต้น ผู้ถือกรมธรรม์จึงมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่กรมธรรม์มีผลบังคับ และบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือตามความคุ้มครองของกรมธรรม์ฉบับนั้น
2. ประกันสุขภาพแบบมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ขณะที่แบบประกันแบบ Copayment คือประกันที่ผู้ถือกรมธรรม์ร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้การกำหนด สัดส่วนของค่าใช้จ่าย ที่ผู้ถือกรมธรรม์จะมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ทำความรู้จัก Copayment เงื่อนไขต่ออายุใหม่ของประกันสุขภาพ
เงื่อนไขต่ออายุ Copayment เป็นการเพิ่มเงื่อนไขในปีต่ออายุกับแบบประกันสุขภาพมาตรฐาน และการร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าเงื่อนไข Copayment ที่กำหนดไว้ โดยมีผลบังคับกับผู้ถือกรมธรรม์แต่ละราย ขณะที่ผู้ถือกรมธรรม์คนอื่นๆ ที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่กำหนดจะยังคงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์เช่นเดิมต่อไป จึงต่างจากแบบประกันแบบ Deductible ที่ผู้ถือกรมธรรม์ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบตั้งแต่ต้น
เงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment ที่กำลังจะนำมาใช้กับประกันสุขภาพมาตรฐาน จะระบุอยู่ในกรมธรรม์ฯ ของแบบประกันสุขภาพมาตรฐานที่มีผลเริ่มบังคับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป โดยมีผลทั้งแบบประกันสุขภาพที่มีจำหน่ายในปัจจุบันและในแบบประกันใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเฉพาะกรมธรรม์ที่มีพฤติกรรมการเคลมที่เข้าเงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment จะต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขในปีถัดไป การร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจึงมีผลเมื่อมีการต่ออายุในปี 2569 และจะพิจารณาการเข้าเงื่อนไข Copayment อีกครั้งสำหรับการต่ออายุในปี 2570 และปีต่อๆ ไป
สำหรับผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่มีผลบังคับก่อน 20 มีนาคม 2568 นั้นไม่ได้มีการใส่เงื่อนไข Copayment ในกรมธรรม์ จึงยังคงเป็นไปตามกรมธรรม์ตลอดระยะเวลาที่กรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง อย่างไรก็ตามกรมธรรม์เหล่านี้มีโอกาสที่จะสิ้นสุดความคุ้มครอง ถ้าไม่มีการชำระเบี้ยภายใน 90 วัน ตั้งแต่วันครบกำหนดชำระเบี้ย ผู้ถือกรมธรรม์จึงไม่ควรปล่อยให้กรมธรรม์เหล่านี้ขาดอายุ
กรมธรรม์ประกันสุขภาพอะไรบ้างที่มีเงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment 1. กรมธรรม์ประกันสุขภาพมาตรฐานที่เริ่มคุ้มครอง ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป จะมีเงื่อนไขการต่ออายุแบบ Copayment ระบุในกรมธรรม์ โดยจะมีเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขต่ออายุ Copayment ระบุไว้อย่างชัดเจน 2. กรมธรรม์ประกันสุขภาพมาตรฐานทั้งหมด ที่ขาดอายุเกิน 90 วัน และขอต่ออายุโดยปรับวันที่เริ่มคุ้มครองใหม่ ตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568
หลักเกณฑ์การเข้าเงื่อนไขมีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ในปีต่ออายุ ? เงื่อนไขที่ 1 การเคลมผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases)
กรณีผู้เอาประกันภัยมีการเรียกร้องผลประโยชน์ผู้ป่วยในจากการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในรอบปีกรมธรรม์ และ มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสาเหตุข้างต้นภายใต้สัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้ ตั้งแต่ 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพขึ้นไป = จ่ายร่วม 30% ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป
เงื่อนไขที่ 2 การเจ็บป่วยโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่) กรณีผู้เอาประกันภัยมีการเรียกร้องผลประโยชน์ผู้ป่วยในที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง, การผ่าตัดใหญ่ และการป่วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปในรอบปีกรมธรรม์ และ มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากสาเหตุข้างต้นภายใต้สัญญาเพิ่มเติมฉบับนี้ ตั้งแต่ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพขึ้นไป = จ่ายร่วม 30% ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป ? เงื่อนไขที่ 3 หากการเคลมเข้าเงื่อนไข ทั้งในเงื่อนไขที่ 1 และ เงื่อนไขที่ 2 กรณีผู้เอาประกันภัยมีการเรียกร้องผลประโยชน์ผู้ป่วยในที่เข้าเงื่อนไข ทั้งในเงื่อนไขที่ 1 และ เงื่อนไขที่ 2 = จ่ายร่วม 50% ของค่าใช้จ่ายที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป
โดยการเข้าเงื่อนไข Copayment จะมีการพิจารณาทุกรอบปีกรมธรรม์ ขึ้นกับอัตราการเคลมทั้ง 3 กรณีในปีนั้นๆ หากปีไหนที่ไม่เข้าเงื่อนไข ผู้ถือกรมธรรม์ก็จะสามารถกลับไปจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพในอัตราปกติได้ อุ่นใจในทุกจังหวะชีวิต ด้วยประกันสุขภาพออนไลน์ จากกรุงเทพประกันชีวิต ปัจจุบัน กรุงเทพประกันชีวิตมีแบบประกันสุขภาพออนไลน์ที่ตอบโจทย์ความคุ้มครองครอบคลุม ซึ่งก็คือ ประกันสุขภาพออนไลน์ บีแอลเอ คอมพลีท เฮลธ์ ที่ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
จุดเด่นความคุ้มครอง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 5,000,000 บาทต่อครั้ง 1 ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี ครอบคลุมค่าห้องพักเดี่ยวราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาล 1 ? กรณีเข้าพักรักษาตัวจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง รับผลประโยชน์รวมสูงสุดเพิ่มเป็น 5,500,000 บาท 1 ? เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 1 ใน 20 โรค เป็นครั้งแรก รับ 100,000 บาท ? อายุผู้รับประกันภัย 20 - 65 ปี สามารถซื้อให้ตัวเองและคนที่รักได้ โดยเลือกจ่ายเบี้ยได้ทั้งแบบรายเดือนและรายปี
สำหรับใครที่กังวลเงื่อนไขต่ออายุแบบ Copayment ขอแนะนำซื้อประกันสุขภาพไว้ก่อน เพื่อให้กรมธรรม์ประกันสุขภาพมีผลบังคับก่อน 20 มีนาคม 2568 สามารถกดซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย สะดวก ไม่ต้องตรวจสุขภาพ >> https://bla.bangkoklife.com/cphprarticle
วันนี้เส้นทางผู้บริหารของเธอ ยังโลดแล่นต่อไป พร้อมเป้าหมายนำพาองค์กร ให้ความรู้ผู้ทำประกัน ก้าวสู่ผู้นำวงการประกันชีวิต
|